สถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ ที่มีแพทย์ประจำ มี 10 แห่ง
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 92 หมู่ 5 ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 82210
โทร : 076 565 741
วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล : เป็นโรงพยาบาลปฐมภูมิประจำหน่วยงานกองทัพเรือที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจและพัฒนาศักยภาพเพื่อให้หน่วยงานเป็นเลิศในงานส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาด้านเวชศาสตร์ทางทะเลของกรมแพทย์ทหารเรือ
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 204 ถนน สุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10270
โทร : 02 475 7430
วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล : เป็นหน่วยแพทย์ทหารที่สนับสนุนการผลิตนักเรียนนายเรือให้มีสุขภาพและสมรรถภาพเหมาะสมกับการเป็นนายทหารสัญญาบัตรมืออาชีพ
สถานที่ตั้ง : รพ.ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ 57 ม.5 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290
โทร. 02 475 6292
วิสัยทัศน์ของหน่วย : เป็นสถานพยาบาลปฐมภูมิคุณภาพของกองทัพเรือ
สถานที่ตั้ง : ค่ายกรมหลวงชุมพร หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ เลขที่ 2491 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 20180
โทร : 038 334196
วิสัยทัศน์ของหน่วย : กองพันพยาบาล เป็นองค์กรที่เป็นเลิศในด้านการบริการทางการแพทย์สนับสนุนปฏิบัติการทางทหาร และส่งเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของกองทัพเรือ
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 2396 หมู่ที่ 2 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 20180
โทร : 038 245760 ต่อ 79483
วิสัยทัศน์ของหน่วย : เป็นกองพันพยาบาลที่มีขีดสมรรถนะในการจัดการดูแลผู้ป่วยเจ็บจำนวนมาก และเป็นหน่วยปฐมภูมิที่ให้บริการสุขภาพอย่างยั่งยืน
สถานที่ตั้ง : กองร้อยพยาบาล กองสนับสนุนการช่วยรบ กองกำลังด้านจันทบุรี-ตราด (ค่ายตากสิน) ถนนท่าหลวง ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 22000
โทร : 039-311099 ต่อ 37828, 37827
วิสัยทัศน์ของหน่วย : กองร้อยพยาบาล กองสนับสนุนการช่วยรบ กองกำลังด้านจันทบุรี- ตราด เป็นผู้นำด้านส่งเสริมสุขภาพและให้การบริการทางการแพทย์ที่มีความพร้อมสูงสุดของ กองกำลังป้องกันชายแดน ด้านจันทบุรีและตราด
สถานที่ตั้ง : แผนกแพทย์โรงเรียนชุมพลฯ เลขที่ 51 หมู่ 5 ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 20251
โทร : 66350
วิสัยทัศน์ของหน่วย : แผนกแพทย์ฯเป็นสถานพยาบาลปฐมภูมิที่มีความพร้อมในด้านการรักษาและสร้างเสริมสุขภาพให้ รร.ชุมพลฯ เป็นชุมชนเข้มแข็ง
วิสัยทัศน์ของหน่วย : เป็นสถานพยาบาลขั้นปฐมภูมิ ที่มีคุณภาพในงานด้านนิรภัยเวชกรรมการบินของกรมแพทย์ทหารเรือ
สถานที่ตั้ง :หมวดพยาบาล ค่ายจุฬาภรณ์ เลขที่ 241 หมู่ 10 ตำบล โคกเคียน อำเภอ เมืองโคกเคียน 96000
โทร :
วิสัยทัศน์ของหน่วย : มุ่งสู่การเป็นสถานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพขั้นปฐมภูมิที่มีคุณภาพของกองทัพเรือ
สถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ (Naval Primary Health Care Unit- PHU) หมายถึง หน่วยงานในระบบบริการสุขภาพกองทัพเรือ ที่จัดบริการปฐมภูมิ (Primary Care) ในเขตพื้นที่ ที่เป็นที่ปฏิบัติงานของกำลังพลกองทัพเรือ มีพันธกิจในการบริการสุขภาพแก่กำลังพลกองทัพเรือและครอบครัว อีกทั้งประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับบริการอย่างทั่วถึงด้วยคุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงทำหน้าที่ส่งต่อและประสานเชื่อมต่อการบริการอื่น ๆ ทั้งด้านการแพทย์และสังคม อาจเป็นโรงพยาบาล หน่วยแพทย์ ห้องพยาบาล ซึ่งมีทั้งหน่วยบกและหน่วยเรือกระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศที่มีกำลังพลกองทัพเรือปฏิบัติงานอยู่
ภารกิจ
สถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ มีภารกิจตามระบบบริการสุขภาพกองทัพเรือ ให้บริการสุขภาพทั้ง 2 ประเภท คือ

1. การบริการสุขภาพเพื่อความพร้อมของกองทัพเรือ (Readiness Health Service)
หมายถึง การบริการสุขภาพที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมให้กำลังพลกองทัพเรือมีความพร้อมด้านสุขภาพที่จะปฏิบัติงานตามภารกิจ และสนับสนุนปฏิบัติการอื่นของกองทัพเรือด้านการแพทย์ ประกอบด้วย
Shape คือ การเตรียมกำลังรบให้มีสุขภาพดี และมีสมรรถนะเหมาะสมกับหน้าที่ (ในปัจจุบัน หมายรวมถึง กำลังพลกองทัพเรือทั้งหมด) ได้แก่
- การสร้างเสริมสุขภาพ แก่กำลังพลหน่วยที่รับผิดชอบ ทั้งกลุ่มดี กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ได้แก่ การจัดกิจกรรม / โครงการ / การให้ความรู้ด้านสุขภาพต่างๆ การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี การให้ความรู้เรื่องโรคที่พบบ่อย
- การสร้างเสริมสมรรถภาพ
- การคัดกรองและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิต
- การตรวจสุขภาพ (ทำได้บางหน่วย)
- การคัดกรองและแก้ไขภัยสุขภาพที่สำคัญ เช่น ปัญหายาเสพติด
Prepare คือ การป้องกันกำลังรบไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติการทางทหาร (ในปัจจุบัน หมายรวมถึง การจัดบริการป้องกันทางการแพทย์ เพื่อไม่ให้กำลังพลเกิดการเจ็บป่วย) ได้แก่
- อาชีวอนามัยและมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เป็นการป้องกันภัยที่เกิดจากลักษณะการทำงาน การฝึก การปฏิบัติการทางทหาร เช่น การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร การทำงานในที่แคบ การเจ็บป่วยจากโรคลมเหตุร้อน (Heat Stroke) ข้อพลิก กระดูกหัก หูตึง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
- สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลอาหาร
- การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
- การเฝ้าระวังและควบคุมโรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดต่อต่างๆ
- งานนิรภัยเวชกรรมใต้น้ำและการบิน
Response การดูแลรักษากำลังรบอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดการเจ็บป่วยทุกที่ ทุกเวลา (ในปัจจุบัน หมายรวมถึง การจัดให้มีการรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการส่งกลับอย่างมีระเบียบและรวดเร็ว เพื่อลดความพิการ และการเสียชีวิต) ได้แก่
- การบริการการแพทย์ตามหลักยุทธวิธี
- การส่งกลับสายแพทย์
- การส่งกำลังสายแพทย์
- การสร้างเสริมขีดความสามารถในการปฐมพยาบาลและกู้ชีพขั้นพื้นฐาน แก่กำลังพล ทร.ในหน่วยที่รับผิดชอบ
- การสร้างเสริมขีดความสามารถในการช่วยชีวิตทางน้ำ แก่กำลังพล ทร.ในหน่วยที่รับผิดชอบที่มีภารกิจปฏิบัติการทางน้ำ/ทางทะเล
- การสร้างเสริมขีดความสามารถในการช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธีแก่กำลังพล ทร.ในหน่วยที่รับผิดชอบที่มีภารกิจปฏิบัติการรบ
2. การบริการสุขภาพเพื่อสวัสดิการสุขภาพ (Beneficiary Health Service)
หมายถึง การบริการที่จัดขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการด้านสุขภาพแก่กำลังพลและครอบครัว ตลอดจนเพื่อให้บริการแก่สาธารณชนพอสมควร เป็นการให้บริการตรวจรักษาทั่วไป สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อีกทั้งในบางหน่วยสามารถให้บริการพิเศษเฉพาะด้านได้ เช่น ด้านเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ทันตกรรม กายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย โดยกำลังพล ทร.และครอบครัว ตลอดจนทหารกองประจำการ นักเรียนทหาร อาสาสมัครทหารพราน และบุตรข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ/ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่อายุ 20-28 ปี สามารถรับบริการได้ทุกที่ตามสิทธิ์ที่ได้รับ รวมถึงยังทำหน้าที่ส่งต่อและประสานเชื่อมต่อการบริการอื่น ๆ เป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถจัดบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ตลอดจนมีศักยภาพรองรับภารกิจของกองทัพเรือ
สถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะทุกที่ตั้งอยู่ในหน่วยขึ้นตรง ทร. สะดวกต่อการเข้าถึง ให้บริการในเวลาราชการแต่สามารถรองรับภาวะฉุกเฉินตลอด 24 ช.ม. และในสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือระดับที่มีแพทย์ประจำ จะมีหอผู้ป่วยในสำหรับรับป่วยโรคที่ไม่ซับซ้อน สังเกตอาการ หรือพักฟื้น สำหรับโรคที่เกินขีดความสามารถ จะมีแนวทางและเครือข่ายในการส่งต่อ ซึ่งอาจจะเป็นสถานพยาบาลกองทัพเรือ หรือ โรงพยาบาลเครือข่ายสาธารณสุขหรืออื่นๆในพื้นที่
ในการดูแลสุขภาพชุมชน จะมีบทบาทที่ทับซ้อนกับทางสาธารณสุข ทางคณะทำงานพัฒนามาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ จึงได้ให้คำจำกัดความของชุมชน และประชากรกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
ชุมชน ทร. ที่สถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ รับผิดชอบ หมายถึง กลุ่มคนที่เป็นกำลังพล ทร. และไม่ใช่กำลังพล ทร.ที่อยู่ในพื้นที่หรืออาณาเขตที่รับผิดชอบของกองทัพเรือ โดยกลุ่มคนในบริเวณนั้นต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย หมายถึง กำลังพลและทหารกองประจำการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมถึงครอบครัวเฉพาะที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่หน่วยแพทย์รับผิดชอบ
การแบ่่งระดับสถานพยาบาบปฐมภูมิ กองทัพเรือ ตามศักยภาพ

แบ่งศักยภาพการบริการเป็น 2 ระดับ คือ
- หน่วยบริการที่มีแพทย์ประจำ PHU L1 (Primary Health Unit : Level 1) มีจำนวน 10 แห่ง ได้แก่
- กองพันพยาบาล กรมสนับสนุน กองพลนาวิกโยธิน
- กองพันพยาบาล กรมสนับสนุน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
- โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ
- โรงพยาบาลป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ
- โรงพยาบาลฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาค 2
- โรงพยาบาลฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาค 3
- แผนกแพทย์ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
- แผนกแพทย์ สถานีการบิน กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ
- ร้อยพยาบาล กองสนับสนุนช่วยรบ กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี – ตราด
- หมวดพยาบาล กองร้อยกองบังคับการและบริการ กองพันทหารราบที่ 9 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
- หน่วยบริการที่ไม่มีแพทย์ประจำ มีพยาบาลประจำ ในปัจจุบันมีการแบ่งดังนี้
PHU L2 (Primary Health Unit : Level 2) มีพยาบาลประจำตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
PHU L3 (Primary Health Unit : Level 3) มีพยาบาลประจำ 1 – 2 คน
PHU L2 และ PHU L3 มีจำนวนรวมประมาณ 100 หน่วยย่อย กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
- พื้นที่ กทม. และปริมณฑล
- พื้นที่ภาคตะวันออก
- พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
- พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
- พื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน

การแบ่งประเภทสถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร. ตามหน่วยต้นสังกัด
1.หน่วยแพทย์ที่สังกัดหน่วยที่มีหน้าที่เตรียมกำลัง

2.หน่วยแพทย์ที่สังกัดหน่วยที่มีหน้าที่ใช้กำลัง

- 3.หน่วยแพทย์สังกัดยุทธบริการ
- ห้องพยาบาล อรม.อร. , ห้องพยาบาล อจปร. อร.
- แผนกพยาบาล กองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ สพ.ทร. , ห้องพยาบาล กคส.สพ.ทร.
- ห้องพยาบาล กรมขนส่ง ทหารเรือ , ห้องพยาบาล รร.สสท.
4.หน่วยแพทย์ที่สังกัดส่วนการศึกษา
- โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ
- แผนกแพทย์โรงเรียนชุมพล
- แผนกแพทย์ศูนย์ฝึกทหารใหม่ (ยุบหน่วยตั้งแต่ 1 เม.ย. 62)
- ห้องพยาบาล บก.ยศ.ทร.
5.หน่วยแพทย์ที่สนับสนุนกองบัญชาการและกรมฝ่ายอำนวยการ
- ห้องพยาบาล กรมยุทธการทหารเรือ
- ห้องพยาบาล กองบัญชาการกองทัพเรือ (วังนันทอุทยาน)
การแบ่งประเภทสถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร ตามประเภทเครือข่าย
โดยมีการแต่งตั้งเครือข่าย 5 แห่ง ได้แก่
- รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐท.สส.
- รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พร.
- รพ.ทร.กรุงเทพ พร.
- รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร.
- กสส.พร.
หน้าที่ของหัวหน้าเครือข่าย สถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร. มีดังนี้
- ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานเบื้องต้นทั้งด้านบุคลากร ด้านส่งกำลังบำรุง ด้านงบประมาณ และด้านบริหารจัดการให้กับหน่วยปฐมภูมิที่อยู่ในความรับผิดชอบ
- ร่วมกับเจ้าภาพกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ พร. ในการช่วยเหลือหน่วยปฐมภูมิ ทร.ที่อยู่ในความรับผิดชอบในการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วย รวมทั้งกำกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนฯ และถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยปฐมภูมิที่เจ้าภาพกลยุทธ์ได้จัดทำแล้ว
- ร่วมกับ กวก.ศวก.พร. ในการพิจารณาแผนการพัฒนาบุคลากรหน่วยปฐมภูมิให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรม ทบทวน วิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยปฐมภูมิที่เจ้าภาพกลยุทธ์ได้จัดทำ และมีขีดสมรรถนะที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ พร.
- ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้คำปรึกษาให้กับหน่วยปฐมภูมิที่อยู่ในความรับผิดชอบ ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน สถิติ ตัวชี้วัดต่างๆ และในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพประจำปี รวมทั้งติดตามกำกับให้ความช่วยเหลือให้เป็นไปตามแผน
- ร่วมกับหน่วยแพทย์ปฐมภูมิที่อยู่ในความรับผิดชอบในการจัดทำแผนสร้างเสริมสุขภาพขั้นพื้นฐาน และแผนการสร้างเสริมสุขภาพรายโรคตามปัญหาสุขภาพกำลังพล ทร.ในพื้นที่ และติดตามกำกับให้ความช่วยเหลือให้เป็นไปตามแผน
สำหรับแม่ข่ายด้านเวชกรรมป้องกัน จะมี กกป.พร. หรือ รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐท.สส. รับผิดชอบให้การสนับสนุน
กรมแพทย์ทหารเรือได้เห็นความสำคัญของสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือมาโดยตลอด และอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของกรมแพทย์ทหารเรือ ตั้งแต่แผนยุทธศาสตร์กรมแพทย์ทหารเรือ ปี 45 – 49 จนถึงฉบับปัจจุบันคือ แผนยุทธศาสตร์กรมแพทย์ทหารเรือ ปี 62 – 64 ในกลยุทธ์ที่ 8.3 พัฒนาสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ ให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และขยายศักยภาพให้เป็นไปตามภารกิจที่ ทร.มอบหมาย โดยมี กองสวัสดิการสุขภาพ พร.เป็นเจ้าภาพกลยุทธ์ มีการตรวจเยี่ยมของผู้บริหารระดับสูงของ พร.ทุกปี เพื่อรับทราบปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไข ทำให้มีการพัฒนาคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงบริการระหว่างสถานพยาบาลปฐมภูมิกับสถานพยาบาลระดับ ทุติยภูมิและตติยภูมิ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นโปรแกรมสารสนเทศในการบริการร่วมกัน และมีฐานข้อมูลประวัติสุขภาพเดียวกัน เพื่อให้สะดวกในการเข้ารับบริการได้ทุกที่ มีการพัฒนาระบบแม่ข่ายเพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ ที่รับผิดชอบ มีการพัฒนาด้านองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี ตลอดจนพัฒนาไปสู่การรับรองการผ่านเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพฉบับประยุกต์เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ พ.ศ.2555 HPH NQC (Health Promotion Hospital National Quality Criteria) ของสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือระดับที่มีแพทย์ประจำครบทุกแห่งในปี 2559
ในปี 2558 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดทำประกาศเรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ สำหรับประเมินหน่วยบริการที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียน และเพื่อต่อสัญญาเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่ง พร. เป็นหน่วยบริการประจำของ สปสช. “สิทธิ 30 บาทกรมแพทย์ทหารเรือ” โดย สถานพยาบาลต่างๆของพร. ที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิ 30 บาท กรมแพทย์ทหารเรือ ได้แก่ สถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร. ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ
ปี งป. 60 พร. จึงแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนามาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร. เพื่อดำเนินการจัดทำมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร. เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบริการสุขภาพของสถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร. ตามแผนยุทธศาสตร์ พร. ปี 2559 -2562 และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพของ สปสช.
หน้าที่ของคณะทำงานพัฒนามาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ
- ทบทวนแนวทางมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร. ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ โดยจัดทำมาตรฐานในทุกระดับของสถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร. ให้สอดคล้องกับการบริการสุขภาพเพื่อสวัสดิการ และเพื่อความพร้อมของ ทร. รวมทั้งให้มีความสอดคล้อง เชื่อมโยงกับมาตรฐานงานหน่วยบริการในระบบสาธารณสุข และ สปสช.
- ส่งเสริมและเผยแพร่แนวทางมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ ทร. สู่การปฏิบัติในทิศทางเดียวกันทุกระดับเพื่อให้เกิดความความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
- ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรหน่วยปฐมภูมิ ตามแนวทางมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ
- พัฒนา จัดทำ ทบทวนเครื่องมือประเมินคุณภาพฯ ให้เป็นที่ยอมรับในงานสาธารณสุข
- พัฒนาให้มีระบบติดตามประเมินผล
คณะทำงานพัฒนามาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ ได้จัดทำมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ ปี 2560 ขึ้น โดยอ้างอิงจากมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักการแพทย์ทหาร มาตรฐานสาธารณสุข มาตรฐานระบบบริการสุขภาพของ สปสช. และมาตรฐานวิชาชีพต่างๆของประเทศไทย และมีการสื่อสารทำความเข้าใจเพื่อนำสู่การปฏิบัติ
ในปี 2562 คณะทำงานพัฒนามาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ ได้ทบทวนมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ ปี 2560 และผลการประเมินในปี 2561 เห็นควรให้มีการปรับข้อกำหนดให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับบริบทของสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือ ลดความซ้ำซ้อน และกำหนดเกณฑ์คะแนนเป็นรายละเอียดในแต่ละข้อ รวมถึงกำหนดเกณฑ์ผ่านเป็นระดับที่มีความชัดเจน จึงได้พัฒนาต่อยอด โดยจัดทำคู่มือแนวทางการตรวจประเมินมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ กองทัพเรือขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อ
- ให้หน่วยปฐมภูมิ ใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาคุณภาพ โดยเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นอยู่จริง กับสิ่งที่กำหนดในมาตรฐาน และพัฒนาในส่วนที่ขาดให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- เพื่อให้แม่ข่ายเข้าใจและสามารถเป็นพี่เลี้ยง และให้คำปรึกษาได้ตรงกัน
- เพื่อให้ทีมผู้ตรวจประเมินให้คะแนนโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน และมีความเข้าใจตรงกัน
- เพื่อให้ พร. ใช้เป็นแนวทางในการวางระบบต่างๆในภาพรวม
- สามารถเทียบเคียงผลการประเมินระหว่างหน่วยปฐมภูมิ และเปรียบเทียบแนวโน้มในการพัฒนา ในแต่ละปีได้
- ทำให้สามารถสรุปได้ว่า หน่วยปฐมภูมิแต่ละแห่งมีการพัฒนาถึงระดับใด และต้องพัฒนาต่อในส่วนไหน
ในปี 62 ได้มีการถ่ายทอดมาตรฐานสู่การปฏิบัติ และลงพื้นที่เพื่อตรวจประเมินเป็นเกณฑ์คะแนนในสถานพยาบาลปฐมภูมิระดับที่มีแพทย์ประจำ รวมถึงสถานพยาบาลปฐมภูมิที่ไม่มีแพทย์ประจำเป็นอันดับถัดไป
กสส.พร. เรียบเรียง
17 มี.ค. 62